เมนู

อรรถกถากิงสีลสูตรที่ 9


กิงสีลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า กึสีโล ดังนี้.
ถามว่า พระสูตรนี้มีการเถิดขึ้นเป็นอย่างไร ?
ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ : -
สหายฆราวาสของพระสารีบุตรผู้มีอายุคนหนึ่ง เป็นบุตรของพราหมณ์
ซึ่งเป็นสหายของวังคันตพราหมณ์ ผู้เป็นบิดาของพระเถระนั้นเอง บริจาค
ทรัพย์ 560 โกฏิ แล้วบวชในสำนักของพระสารีบุตรเถระผู้มีอายุ เรียนแล้ว
ซึ่งพุทธวจนะทั้งสิ้น พระเถระได้โอวาทแล้ว ได้ให้กรรมฐานแก่ท่านโดยมาก
พระภิกษุนั้นก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษด้วยกรรมฐานนั้นได้ ต่อจากนั้นพระเถระ
ทราบว่า ภิกษุรูปนี้เป็นพุทธเวไนย ดังนี้แล้ว จึงได้พาพระภิกษุนั้นมา
ยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า นรชนเป็นผู้มีศีลเช่นไรเป็นต้น
ไม่เจาะจงบุคคล ปรารภภิกษุนั้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงเรื่อง
อื่น จากเรื่องที่พระสารีบุตรถามนั้น แก่พระสารีบุตรนั้น.
คำว่า กึสีโล ในพระคาถานั้น ความว่า ประกอบแล้วด้วยจารีตศีล
เช่นไร หรือว่าเป็นผู้มีปกติเช่นไร.
บทว่า กึสมาจาโร ได้แก่ ประกอบด้วยความประพฤติเช่นไร.
บาทคาถาว่า กานิ กมฺมานิ พฺรูหยํ ความว่า กระทำกรรมทั้งหลาย
มีกายกรรมเป็นต้นอย่างไร ให้เจริญอยู่.

บาทพระคาถาว่า นโร สมฺมา นิวิฏฺฐสฺส ความว่า นระเป็นผู้ยินดี
แล้ว คือว่า พึงเป็นผู้ดำรงอยู่แล้วโดยชอบในพระศาสนา.
บาทพระคาถาว่า อุตฺตมตฺถญฺจ ปาปุเณ มีคำอธิบายว่า และพึง
บรรลุพระอรหัต อันเป็นประโยชน์สูงสุดกว่าประโยชน์ทั้งปวง.
ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรำพึงอยู่ว่า สารีบุตรบวชแล้ว
ได้กึ่งเดือน ก็บรรลุสาวกบารมีญาณ เพราะเหตุไรจึงถามปุถุชนปัญหาอันเป็น
อาทิกัมมิกะจึงทรงทราบว่า พระสารบุตรทูลถามปรารภ สัทธิวิหาริก จึงไม่ได้
ทรงจำแนกจารีตศีล ที่พระสารีบุตรกล่าวด้วยคำถามเลย เมื่อจะทรงแสดง
ธรรมด้วยสามารถสัปปายะแก่ภิกษุนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า วุฑฺฒาปจายี ดัง
นี้เป็นต้น วุฑฒบุคคล ทั้งหลายในคำว่า วุฑฺฒาปจายี นั้นมี 4 จำพวก
คือ ปัญญาวุฑฒบุคคล 1 คุณวุฑฒบุคคล 1 ชาติวุฑบุคคล 1 วุฑฒ-
บุคคล 1.
จริงอยู่ ภิกษุที่เป็นพหูสูต แม้โดยกำเนิดจะเป็นคนหนุ่มก็ตาม ก็ชื่อ
ว่า ปัญญาวุฑฒะได้ เพราะเป็นผู้เจริญแล้ว ด้วยปัญญา คือ พาหุสัจจะใน
สำนัก (ในระหว่าง) แห่งภิกษุเเก่ผู้มีการศึกษาน้อยทั้งหลาย ด้วยว่าแม้ภิกษุแก่
ทั้งหลายเรียนอยู่ซึ่งพุทธวจนะ ในสำนักของภิกษุหนุ่มนั้น และหวังอยู่ซึ่ง
โอวาท การวินิจฉัยความ และการแก้ปัญหาทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุหนึ่งที่ถึง
พร้อมด้วยอธิคม (บรรลุคุณวิเศษมีฌานและมรรคผลเป็นต้น ) ชื่อว่า คุณ
วุฑฒะ
ผู้เจริญโดยคุณ ด้วยว่าแม้ภิกษุแก่ทั้งหลาย ดำรงอยู่ในโอวาทของ
ภิกษุหนุ่มนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมบรรลุอรหัตผลได้.

อนึ่ง พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ แม้ทรงพระเยาว์ เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับ
มุรธาภิเษกแล้ว หรือจะเป็นพราหมณ์ก็ตาม ก็เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ของ
ชนที่เหลือ ชื่อว่า ชาติวุฑฒะ ผู้เจริญโดยชาติ.
ส่วนคนที่เกิดก่อนทุกจำพวก ชื่อว่า วัยวุฑฒะ ผู้เจริญโดยวัย.
ในบรรดาวุฑฒบุคคล 4 จำพวกเหล่านั้น เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย
แล้ว ใคร ๆ ผู้จะเสมอด้วยพระสารีบุตรเถระในทั้งปัญญาย่อมไม่มี เพราะ
เหตุที่ท่านได้บรรลุสาวกบารมีญาณทั้งปวง พร้อมด้วยคุณทั้งหลายในเวลาครึ่ง
เดือน พระสารีบุตรนั้น แม้โดยชาติสกุล ก็อุบัติแล้วในสกุลพราหมณ์มหาศาล
พระสารีบุตรนั้น แม้จะเสมอกันโดยวัยกับภิกษุนั้น (ผู้เป็นสหายของท่าน) ก็ชื่อ
ว่าเจริญแล้ว ด้วยเหตุทั้ง 3 ประการเหล่านี้ ส่วนในพระคาถานี้พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า วุฑฺฒาปจายี ทรงหมายเอาการที่พระสารีบุตรนั้น เป็น
ผู้เจริญแล้ว ด้วยปัญญาวุฒิและคุณวุฒิทั้งหลายนั่นเอง บุคคลจึงควรกระทำ
ความยำเกรงต่อวุฑฒบุคคลทั้งหลายเช่นนั้น บุคคลพึงเป็นผู้ชื่อว่าไม่ริษยา
เพราะปราศจากความริษยาในอิฏฐผลทั้งหลายมีลาภเป็นต้น ของวุฑฒบุคคล
ทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล เพราะฉะนั้น เนื้อความนี้จึงเป็นการอธิบายบทต้น.
ส่วนในคำว่า กาลญฺญู จสฺส นี้มีอธิบายว่า บุคคลเมื่อราคะบังเกิด
ขึ้นแล้ว แม้ไปหาครูทั้งหลายอยู่ เพื่อจะบรรเทาราคะนั้น ก็ชื่อว่า กาลญฺญู
เมื่อโทสะบังเกิดขึ้น เมื่อโมหะบังเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อโกสัชชะบังเกิดขึ้น แม้ไป
หาครูทั้งหลายเพื่อจะบรรเทาอกุศลธรรมนั้น ๆ ก็ชื่อว่า กาลญฺญู ผู้รู้กาล
เพราะบุคคลจะพึงเป็นกาลัญญูได้ ก็เพราะไปหาครูทั้งหลายอย่างนี้.

สองบทว่า ธมฺมึ กถํ ได้แก่ ประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา
บทว่า เอรยิตํ คือ กล่าวแล้ว.
บทว่า ขณญฺญู ได้แก่ รู้อยู่ว่า บุคลลผู้รู้ขณะแห่งถ้อยคำนั้น เป็น
บุคคลหาได้ยาก หรือว่า นี้เป็นขณะแห่งการฟังซึ่งถ้อยคำเช่นนี้.
สองบทว่า สุเณยฺย สกฺกจฺจํ ได้แก่ พึงพึงถ้อยคำนั้นโดยเคารพ.
อธิบายว่าบุคคลจะพึงฟังถ้อยคำนั้นอย่างเดียวก็หามิได้ แม้ถ้อยคำอื่นเป็นสุภาษิต
อันปฏิสังยุตด้วยพุทธคุณเป็นต้น บุคคลก็พึงฟังโดยเคารพเช่นกัน.
ในบาทคาถาว่า กาลญฺญู จสฺส ครูนํ ทสฺสนาย นี้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้.
ภิกษุแม้ทราบนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า กาลญฺญู จสฺส ครูนํ
ทสฺสนาย
และทราบการบรรเทาราคะเป็นต้น ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่ตน เมื่อไปสู่
สำนักของครูทั้งหลาย ก็พึงไปสู่สำนักของครูทั้งหลายโดยกาลอันสมควร โดย
กระทำไว้ในใจว่า เราจักบำเพ็ญกรรมฐาน และจักเป็นผู้รักษาธุดงค์ มิใช่เห็น
อาจารย์ยืนอยู่แล้ว ณ ถามที่ใดที่หนึ่งในบรรดาที่ทั้งหลาย มีที่ไหว้พระเจดีย์
ที่ลานต้นโพธิ์ ทางเที่ยวบิณฑบาต และเวลาเที่ยงตรงเป็นต้น แล้วพึงเข้าไป
เพื่อถามปัญหา แต่พึงกำหนดอาจารย์ผู้นั่งอยู่แล้วบนอาสนะของตนในเสนา-
สนะของตน ซึ่งมีความกระวนกระวายอันสงบเเล้ว เข้าไปหาเพื่อถามวิธีแห่ง
กรรมฐานเป็นต้น ก็ภิกษุแม้เมื่อเข้าไปหาอย่างนี้แล้ว ทำความหัวดื้อให้พินาศ
แล้ว เป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อม คือว่าทำมานะที่กระทำความแข็งกระด้างให้
พินาศแล้ว มีความประพฤติถ่อมตน เป็นผู้เช่นกับผ้าเช็ดเท้า โคเขาขาด และ

งูที่ถูกเขาถอนเขี้ยวออกเสียแล้ว พึงเข้าไปหา ลำดับนั้น ก็พึงอนุสรณ์ถึง
อรรถ ธรรม ความสำรวม พรหมจรรย์ และพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ซึ่ง
(คำที่) ครูนั้นกล่าวแล้ว.
บทว่า อตฺถํ ได้แก่ เนื้อความแห่งภาษิต.
บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ธรรมคือบาลี.
บทว่า สํยมํ ได้แก่ ศีล.
คำว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์ที่เหลือ.
บาทคาถาว่า อนุสฺสเร เจว สมาจเร จ ความว่า พึงระลึกถึง
โอกาสที่อาจารย์นั้นกล่าวถึงธรรมะ ความสำรวม (และ) พรหมจรรย์ และไม่
ใช่พอใจด้วยเหตุสักว่าระลึกถึงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ
คือประพฤติชอบ สมาทานวัตรปฏิบัติแม้ทั้งหมดนั้นให้เป็นไป อธิบายว่าพึง
กระทำการขวนขวายในการทำให้กถาเหล่านั้นเป็นไปในตน ด้วยว่าบุคคลเมื่อ
กระทำอยู่อย่างนี้ ชื่อว่ากระทำสิ่งที่ควรทำ ก็เบื้องหน้าต่อแต่นั้นไป บุคคล
นั้น ชื่อว่า มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ดำรงอยู่แล้วในธรรม
พึงเป็นผู้วินิจฉัยธรรม.
ก็คำว่า ธรรม ในบททั้งปวงในคาถานี้ ได้แก่สมถะและวิปัสสนา
ก็คำว่า อาราโม และ คำว่า รติ มีเนื้อความอันเดียวกัน ความยินดี
รื่นรมย์ในธรรมของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นบุคคลนั้น ชื่อว่า ธมฺมาราโม ผู้
มีธรรมเป็นที่มายินดี.
บุคคลยินดีแล้วในธรรม ชื่อว่า ธมฺมรโต หาใช่ยินดีสิ่งอื่นไม่.

บุคคลชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในธรรม ก็เพราะปฏิบัติธรรม บุคคลย่อมรู้ซึ่ง
การวินิจฉัยธรรมว่านี้เป็นอุทยญาณ นี้เป็นวยญาณ เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้จึง
ชื่อว่า ธมฺมวินิจฺฉยญฺญู ผู้รู้ซึ่งการวินิจฉัยธรรม. บุคคลพึงเป็นบุคคลเห็น
ปานนี้ เมื่อเป็นบุคคลเช่นนี้ได้แล้ว ดิรัจฉานกถามีการพูดถึงพระราชาเป็นต้น
นี้ใด มีอยู่ คำที่เป็นดิรัจฉานกถานั้นย่อมประทุษร้ายต่อธรรม คือสมถะและ
วิปัสสนา เพราะให้เกิดความยินดีในรูปเป็นต้นในภายนอกแก่ตรุณวิปัสสกบุคคล
ฉะนั้น ดิรัจฉานกถานั้นท่านจึงเรียกว่า วาทะที่เป็นอันตรายต่อธรรม บุคคล
ไม่พึงประพฤติวาทะที่ทำอันตรายต่อธรรมนั้นเลย โดยที่แท้เมื่อจะซ่องเสพ
สัปปายะทั้งหลาย มีอาวาสสัปปายะ และโคจรสัปปายะเป็นต้น ก็พึงแนะนำ
ด้วยคำที่เป็นสุภาษิตที่แท้จริง วาจาทั้งหลายที่ปฏิสังยุตด้วยสมถะ และ
วิปัสสนา ชื่อว่า วาจาที่แท้จริงในพระคาถานี้.
บุคคลพึงแน่ะนำคือว่า
พึงชักนำ ได้แก่ พึงยังกาลเวลาให้สิ้นไป ด้วยคำที่เป็นสุภาษิตทั้งหลายเห็น
ปานนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงกระทำอุปกิเลสให้ปรากฏแก่ภิกษุผู้
เจริญสมถะและวิปัสสนา ซึ่งพระองค์ตรัสไว้โดยย่ออย่างยิ่งในคำนี้ว่า ธมฺม-
สนฺโทสวาทํ
ดังนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า หสฺสํ จ ชปฺปํ พร้อมกับอุปกิเลส
แม้อื่นจากนั้น.
พระบาลีว่า หาสํ ดังนี้ก็มี.
ก็ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงการทำสักว่าความยิ้มแย้มเท่านั้นในเรื่องที่
ควรหรรษา ไม่พึงพูดคำกระซิบที่ไร้ประโยชน์ ไม่พึงกระทำการคร่ำครวญใน

การฉิบหายแห่งญาติเป็นต้น ไม่พึงกระทำความฉุนเฉียวให้เกิดขึ้นแม้ในเมื่อ
ถูกตอและหนามตำเป็นต้น.
บุคคลควรละโทษเหล่านี้ คือ มายาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
คำว่า มายากตํ 1 ความหลอกลวง 3 อย่าง 1 ความพอใจในปัจจัยทั้งหลาย 1
การถือตัวด้วยชาติกำเนิดเป็นต้น 1 ความแข่งดีกล่าวคือความยินดีที่เป็นข้าศึก 1
ความหยาบคายอันมีการพูดหยาบเป็นลักษณะ 1 ธรรมที่ประดุจน้ำย้อมฝาด
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้น 1 ความหมกมุ่น (ลุ่มหลง) อันมีความอยากเกินประ-
มาณเป็นลักษณะ 1 การทำให้เห็นว่าโทษเหล่านี้ (อันบุคคลพึงละเสีย) ประ
ดุจผู้ต้องการความสุขละหลุมถ่านเพลิง ประดุจคนรักความสะอาด หลีกที่ ๆมี
คูถเสียฉะนั้น และประดุจผู้รักชีวิต หลีกสัตว์ร้ายทั้งหลายมีอสรพิษเป็นต้นเสีย
ฉะนั้น. ก็ครั้นละแล้วเป็นผู้บรรเทาความมัวเมาได้แล้ว เพราะขจัดความมัวเมา
ในความไม่มีโรคเป็นต้น ชื่อว่ามีตนดำรงมั่นแล้ว เพราะไม่มีความฟุ้งซ่าน
แห่งจิต พึงประพฤติ. ก็บุคคลนั้น ครั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ จะพึงบรรลุพระ
อรหัตด้วยภาวนาอันบริสุทธิ์ จากอุปกิเลสทั้งปวงต่อกาลไม่นานเลย เพราะเหตุ
นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หสฺสํ จ ชปฺปํ ฯเปฯ ฐิตตฺโต ดังนี้.
ภิกษุประกอบด้วยอุปกิเลสซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยว่า
หสฺสํ ชปฺปํ เป็นต้น เพราะเป็นผู้ผลุนผลัน จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่พิจารณาเสีย
ก่อนแล้วกระทำ และกำหนัดแล้วด้วยอำนาจราคะ ประทุษร้ายแล้วด้วยอำนาจ
โทสะไปอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ประมาทแล้ว. โอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย
นัยว่า บุคคลไม่กระทำให้ติดต่อในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย และบุคคลพึง

ฟังสุภาษิตทั้งหลายของบุคคลเห็นปานนั้นโดยเคารพ ดังนี้เป็นต้น จัดว่าเป็น
โอวาทที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉะนั้น บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง
ความที่บุคคลนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญ มีสุตะเป็นอัน แห่งสังกิเลสนี้ด้วย
เทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐาน จึงตรัสพระคาถานี้ว่า วิญฺญาตสารานิ ดังนี้
เป็นต้น.
เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ก็สาระจะพึงมีได้ ก็เพราะรู้แจ้ง
สุภาษิตทั้งหลายที่ปฏิสังยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา ถ้าหากว่าสุภาษิตเหล่านั้น
อันภิกษุรู้แจ้งได้ก็เป็นการดี (ถ้าหากไม่รู้แจ้งได้) เมื่อเป็นเช่นนั้น คำสักว่า
เสียงเท่านั้น อันบุคคลนั้นถือเอาแล้ว เขาจะทำอะไรไม่ได้เลย ชนทั้งหลาย
ย่อมรู้แจ้งซึ่งสุภาษิตเหล่านี้ด้วยญาณอันสำเร็จด้วยสุตะใด ญาณที่สำเร็จด้วย
สุตะนั้น ชื่อว่าสุตญาณที่สำเร็จด้วยสุตะนี้แล ชื่อว่า วิญญาตสมาธิสาระ
รู้แจ้งสมาธิสาระ.
ในบรรดาธรรมทั้งหลายที่บุคคลรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ๆ สมาธิใด คือ
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ก็เป็นข้อปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น นี่คือสาระของ
สมาธินั้น ก็ด้วยเหตุสักว่ารู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หาสำเร็จประโยชน์อะไรไม่
แต่ว่านระนี้ใดชื่อว่า เป็นคนผลุนผลัน เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจราคะเป็น
ต้น และชื่อว่า ประมาท เพราะมีปกติทำไม่ติดต่อในการอบรมกุศลธรรมทั้ง
หลายเป็นต้น บุคคลนั้นเป็นผู้ถือเอาสักว่าเสียงเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญา
คือการรู้แจ้งสุภาษิตนั้น จะเจริญแก่บุคคลนั้นหาได้ไม่ เพราะเขาไม่รู้แจ้ง
ซึ่งเนื้อความ ทั้งสุตะก็หามีแก่เขาไม่ เพราะไม่มีข้อปฏิบัติเพื่อความเป็น
อย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเสื่อมแห่งปัญญา และความ
เสื่อมแห่งสุตะของชนทั้งหลาย ผู้ประมาทอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงการ
บรรลุสาระทั้งสองประการนั้น แห่งบุคคลผู้ไม่ประมาทแล้วทั้งหลายจึงตรัสว่า
ธมฺเม จ เย ฯเปฯ สารมชฺฌคู ดังนี้.
ในบรรดาคำเหล่านั้น ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่า ธรรม ที่
พระอริยเจ้าประกาศแล้ว จริงอยู่พระพุทธเจ้าแม้สักพระองค์หนึ่ง ไม่ทรงแสดง
ธรรม คือ สมถะและวิปัสสนาแล้ว ชื่อว่าปรินิพพานย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น
นรชนเหล่าใดยินดีแล้วในธรรมนี้แล ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว นรชนเหล่านั้น
เป็นผู้มีความยินดีออกแล้ว จัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้มีความเพียรติดต่อ
จึงเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายที่เหลือ ด้วยวาจา ด้วยใจ และด้วยกาย
คือว่า นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่ไม่มีใครเสมอเหมือน คือเป็นผู้เลิศ
เป็นผู้ประเสริฐที่สุด กว่าสัตว์ที่เหลือทั้งหลาย ด้วยวาจา ด้วยใจ และด้วยกาย
เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต 4 มโนสุจริต 3 กายสุจริต 3 ด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศีล อันสัมปยุตด้วยอริยมรรค
ซึ่งมีศีลเป็นเบื้องต้น นรชนเหล่านั้นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้วอย่างนี้ ดำรงอยู่แล้ว
ในสันติ โสรัจจะ และสมาธิ จึงชื่อว่าเป็นผู้บรรลุ สาระธรรมแห่งสุตะ และ
ปัญญา นรชนเหล่าใดยินดีแล้วในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว นรชน
เหล่านั้นจะเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ที่เหลือทั้งหลาย ด้วยวาจาเป็นต้น อย่างเดียว
ก็หามิได้ แต่โดยที่แท้แล บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ดำรงอยู่แล้วในสันติและ
โสรัจจะ และในสมาธิ คือว่า เป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งสารธรรม คือว่า เป็นผู้

เข้าถึงแล้ว (ซึ่งสารธรรม) แห่งสุตะและปัญญา เท่านั้นเป็นคำที่ถูกต้อง ตาม
ความประสงค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ได้แก่ นิพพาน.
บทว่า โสรจฺจํ หมายถึงปัญญาที่เป็นตัวแทงตลอดสภาวธรรมตาม
ความเป็นจริง เพราะความเป็นผู้ยินดีในธรรมที่ดีงาม ความดีงามด้วยสันติ
มีอยู่ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สันติโสรัจจะ คำว่า สันติโสรัจจะนี้ เป็นชื่อ
แห่งมรรคปัญญา อันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์.
คำว่า สมาธิ ได้แก่ มรรคสมาธิ ที่สัมปยุตด้วยนิพพานนั้น.
คำว่า สณฺฐิตา ได้แก่ ดำรงอยู่แล้วด้วยธรรมทั้งสองอย่างนั้น.
วิมุตติ คืออรหัตผล ชื่อว่า สาระแห่งแห่งสุตะและปัญญา ด้วยว่า
พรหมจรรย์นี้มีวิมุตติเป็นสาระ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น ด้วย
ธรรมะ และแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนอื่นด้วยขันธ์แม้ทั้ง 3 เหล่านี้ คือ ศีลขันธ์
เป็นต้นว่า อนุตฺตรา วจสา ซึ่งปัญญาขันธ์ และสมาธิขันธ์ ด้วยปัญญาที่
งาม ด้วยสันติ และด้วยสมาธิ ในคาถาสุดท้ายนี้อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
วิมุตติที่ไม่กำเริบด้วยสุตะ และปัญญาอันเป็นสาระ จึงให้พระเทศนาจบลงด้วย
ยอดคือพระอรหัต.
ก็ในที่สุดแห่งพระเทศนา ภิกษุรูปนั้น ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล ต่อมา
อีกไม่นานนัก ก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต อันเป็นผลที่เลิศ ดังนี้แล.
จบการพรรณนากิงสีลสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา

อุฏฐานสูตรที่ 10


ว่าด้วยตื่นจากความหลับ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า
[327] เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด
จงนั่งเถิด เธอทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไร
ด้วยความหลับ เพราะความหลับจะเป็น
ประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เร่าร้อน
เพราะโรค คือ กิเลสมีประการต่าง ๆ ถูก
ลูกศร คือ ราคะเป็นต้นแทงแล้ว ย่อยยับอยู่
เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด จง
หมั่นศึกษาเพื่อสันติเถิด.
มัจจุราชอย่ารู้ว่าเธอทั้งหลายประมาท
แล้ว อย่ายังเธอทั้งหลายผู้ตกอยู่ในอำนาจ
ให้ลุ่มหลงเลย เธอทั้งหลายจงข้ามตัณหา
อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้
เทวดาและมนุษย์ ผู้มีความต้องการอาศัยรูป
เป็นต้น ดำรงอยู่.
ขณะอย่าได้ล่วงเธอทั้งหลายไปเสีย
เพราะว่าผู้ล่วงขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียด
กันในนรก เศร้าโศกอยู่.